ชุดดินจันทึก (Chan Tuk series: Cu)
กลุ่มชุดดินที่ 44
การจำแนกดิน Sandy, siliceous, isohyperthermic, coated Typic Ustipsamments
การกำเนิด เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ของหินแกรนิต บนบริเวณพื้นผิวเหลือจาก
การกร่อนซอยแบ่ง
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 2-5 %
การระบายน้ำ ค่อนข้างมาก
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ เร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ป่าเต็งรัง ทุ่งหญ้า บางแห่งนำไปใช้เป็นวัสดุสร้างทาง
การแพร่กระจาย ภาคเหนือและด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การจัดเรียงชั้น A-C
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก เนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วนตลอด อาจพบก้อนกรวดปะปนในดินล่าง ดินบนเป็นสีน้ำตาลปนเทา ดินล่างเป็นสีเทาปนชมพูหรือสีน้ำตาลอ่อน กรวดที่พบเป็นแร่ควอตซ์และเฟลด์สปาร์ อาจพบจุดประสีในชั้นหินต้นกำเนิดที่กำลังสลายตัว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0) ในดินบนและเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ในดินล่าง
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินด่านขุนทด
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เนื้อดินเป็นทราย โครงสร้างของดินเลว
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ควรจะสงวนไว้เป็นป่าธรรมชาติ ถ้าหากมีความจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้ในด้านการเกษตร ควรจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอในช่วงฤดูเพาะปลูกและควรมีการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มแร่ธาตุแก่พืชและทำให้สมบัติของดินดีขึ้น




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙