ชุดดินชัยบาดาล (Chai Badan series: Cd)

กลุ่มชุดดินที่ 28
การจำแนกดิน Fine, smectitic, isohyperthermic Leptic Haplusterts
การกำเนิด เกิดจากการผุพังสลายตัวของหินบะซอลท์ หินแอนดีไซท์ บริเวณพื้นที่ภูเขารวมถึงที่เกิดจากวัสดุดินหรือหินที่เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วงบริเวณเชิงเขา หรือเกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณเนินตะกอนรูปพัด
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนชัน ความลาดชัน 3-16 %
การระบายน้ำ ดีปานกลาง
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้าถึงปานกลาง
การซึมผ่านได้ของน้ำ ช้าถึงปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเบญจพรรณ พืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่ว ทานตะวัน หรือไม้ผล เช่น น้อยหน่า ขนุน มะม่วง
การแพร่กระจาย พบมากบริเวณที่สูงตอนกลางของประเทศ
การจัดเรียงชั้นดิน Ap(A)-Bss-Cr or Ck
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกปานกลาง พบชั้นหินผุที่ระดับความลึก 50-100 ซม. ดิน
บนเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สีเทาเข้มมากหรือสีน้ำตาลปนเทาเข้มมาก ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 6.5-8.0) ดินล่างเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง สีน้ำตาลปนเทาเข้ม สีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่างปานกลาง (pH 6.5-8.0) ดินชั้นล่างจะพบรอยไถลเป็นมัน เมื่อดินเปียกและแห้งสลับกัน ดินล่างบางบริเวณอาจพบเม็ดปูนสะสม โดยปกติเมื่อดินแห้ง หน้าดินจะแตกระแหงเป็นร่องลึก
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ปานกลาง
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
สูง
สูง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินบุรีรัมย์
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เนื้อดินเหนียวจัด ยากต่อการไถพรวน และแตกระแหง ทำให้รากพืชเสียหาย เป็นดินลึกปานกลางและมีชั้นปูนทุติยภูมิในดินล่าง ซึ่งจะมีผลกระทบทางกายภาพและเคมีสำหรับพืชที่มีระบบรากลึก ดินอาจขาดสมดุลของธาตุอาหารโดยเฉพาะการขาดฟอสฟอรัสและจุลธาตุบางชนิด
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ และไถพรวนขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ จัดหาแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้เมื่อฝนทิ้งช่วง เพื่อป้องกันไม่ให้ดินแตกระแหงและทำลายระบบรากของพืช ถ้ามีพื้นที่พอ ใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสในรูปละลายช้า และเพิ่มจุลธาตุ เมื่อพืชแสดงอาการขาด




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙