ชุดดินบ่อไทย (Bo Thai series: Bo)

กลุ่มชุดดินที่ 37
การจำแนกดิน Coarse-loamy, kaolinitic, isohyperthermic Typic Eutrustox
การกำเนิด เกิดจากการผุพังสลายตัวของหินทราย บางแห่งอาจมีปูนปน บริเวณพื้นที่ภูเขา และรวมถึงที่เกิดจากวัสดุดินหรือหินที่เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วงบริเวณเชิงเขา
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงเป็นเนินเขา ความลาดชัน 3-35 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้าถึงเร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเบญจพรรณ พืชไร่ เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง และไม้ผล
การแพร่กระจาย พบมากบริเวณที่สูงตอนกลางของประเทศ
การจัดเรียงชั้นดิน Ap(A)-(E)-Bt
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึกปานกลาง ดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลปนเทา ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างเป็นดินร่วนปนทรายถึงดินร่วนเหนียวปนทราย สีน้ำตาลแก่ถึงสีแดงปนเหลือง พบชั้นลูกรังปะปนในดินช่วงความลึก 50-100 ซม. ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน

0-25
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
25-50
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินโพนงาม
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายและมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ สภาพพื้นที่มีความลาดชันดินเกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้อินทรียวัตถุ ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำให้เหมาะสม




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙