ชุดดินท่ายาง (Tha Yang: Ty)
กลุ่มชุดดินที่ 48
การจำแนกดิน Loamy-skeletal, siliceous, isohyperthermic Kanhaplic Haplustults
การกำเนิด เกิดจาการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทาง
ใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหินทรายและหินควอร์ตไซท์ โดยมีหิน
ดินดานและหินฟิลไลท์แทรกอยู่
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดถึงเป็นเนินเขา มีความลาดชัน 2-35 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
สภาพให้ซึมได้ของน้ำ ปานกลางถึงเร็ว
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ปลูกพืชไร่ เช่น
มันสำปะหลัง และอ้อย
การแพร่กระจาย พบอยู่ทั่วไป ยกเว้นในภาคใต้
การจัดเรียงชั้นดิน A-B-Bt-BC
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินตื้นถึงชั้นกรวด ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน มีกรวดและเศษหินก้อนหินปนอยู่ตอนบนประมาณ 15-34 %โดยปริมาตร สีน้ำตาลปนเทาถึงสีน้ำตาลเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินบนตอนล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายปนกรวดและเศษหินมีปริมาณมากกว่า 35 %โดยปริมาตร เพิ่มขึ้นตามความลึก จะพบชั้นดินปนกรวดปนเศษหินนี้ตื้นกว่า 50 ซม. จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อยถึงกรดปานกลาง (pH 5.5-6.0 ) ดินล่างตอนล่างเป็นชั้นเศษหินกรวดของหินทราย
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
สูง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
สูง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
50-100
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินลาดหญ้า ชุดดินระนอง ชุดดินมวกเหล็ก และชุดดินแม่ริม
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นดินตื้นมีเศษหินมาก มีความลาดชันสูง ขาดแคลนน้ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการเกษตร ควรปล่อยไว้เป็นป่าธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙