ชุดดินสรรพยา (Sapphaya: Sa)
กลุ่มชุดดินที่ 21
การจำแนกดิน Fine-loamy, mixed, active, nonacid, isohyperthermic Aquic (Fluventic) Haplustepts
การกำเนิด ตะกอนน้ำพา
สภาพพื้นที่ ราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ ดีปานกลางถึงค่อนข้างเลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ ช้า
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำนา ปลูกพืชผัก ถั่ว และยาสูบในฤดูแล้ง
ถ้ามีน้ำเพียงพอ
การแพร่กระจาย ริมฝั่งแม่น้ำ และสันดินริมน้ำ
การจัดเรียงชั้นดิน Ap-B-C
ลักษณะและสมบัติดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง สีน้ำตาลปนเทา มีจุดประสีเทา ปฏิกิริยาดินเเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0) ดินบนตอนล่างมีลักษณะเนื้อดินและสีไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับตะกอนที่น้ำพามาทับถมในแต่ละปี ซึ่งอาจจะมีลักษณะ
แตกต่างกันเห็นได้ชัดเจน เช่นเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียว สีน้ำตาลปนเหลืองเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลแก่ และพบเกล็ดแร่ไมกาปะปนอยู่ตลอดหน้าตัดดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH 6.0-7.0) ดินล่างตอนล่าง เป็นดินร่วนปนทราย สีน้ำตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH 8.0)
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ปานกลาง
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
25-50
ปานกลาง
ปานกลาง
สูง
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
ปานกลาง
สูง
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินท่าม่วง และชุดดินราชบุรี
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ อาจมีน้ำท่วมขังในฤดูฝนลึก 50 ซม. นาน 4-5 เดือน
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ทำนา ควรปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยคอก เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และแร่ธาตุที่จำเป็นแก่พืชให้กับดิน และทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น ปรับปรุงการระบายน้ำของดินและป้องกันน้ำขัง โดยทำการระบายน้ำผิวดิน




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙