ชุดดินมวกเหล็ก (Muak Lek Series: Ml)
กลุ่มชุดดินที่ 47
การจำแนกดิน Clayey-skeletal, mixed, semiactive, shallow, isohyperthermic, Ultic Haplustalfs
การกำเนิด เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ และ/หรือ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วงของโลกของหินดินดานที่มีสีจาง หินสเลท หรือหินที่คล้ายคลึงกัน
สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดถึงเนินเขาหรือเขา มีความลาดชัน 4-35 %
การระบายน้ำ ดี
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน เร็ว
สภาพซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง บางแห่งปลูกพืชไร่
การแพร่กระจาย ภาคกลางที่สูงตอนกลางของประเทศ ภาคตะวันตกและภาคเหนือ
การจัดเรียงชั้นดิน A-Bt-Bc-Cr
ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินตื้นถึงหินต้นกำเนิด ดินบนเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย
แป้ง สีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาลเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดกลาง (pH 5.5-7.0) ดินบนตอนล่าง เป็นดินร่วนปนดินเหนียวปนกรวดมาก หรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งปนกรวดมาก หรือดินเหนียวปนกรวดมากปฏิกิริยาดิน เป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างตอนล่าง สีน้ำตาลปนเหลืองหรือสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลเข้ม จะพบหินที่กำลังสลายตัวที่ความลึกไม่เกิน 50 ซม. จากผิวดิน
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
สูง
ปานกลาง
25-50
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ต่ำ
ต่ำ
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินเชียงคาน ชุดดินลี้ และชุดดินวังสะพุง
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ เป็นดินตื้น พบชั้นหินพื้นที่ความลึกไม่เกิน 50 ซม. จากผิวดิน เป็นอุปสรรคในการเจริญเติบโตของรากพืช
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ไม่ควรนำมาใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก ควรปล่อยและรักษาให้คงไว้เป็นป่าตามธรรมชาติ เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙