ชุดดินดอนเมือง (Don Mueang Series: Dm)
กลุ่มชุดดินที่ 11
การจำแนกดิน Fine-loamy, mixed, semiactive, acid, isohyperthermic Sulfic Endoaquepts
การกำเนิด เกิดจากตะกอนน้ำทะเลและน้ำกร่อยพัดพามาทับถมอยู่บนที่ราบน้ำทะเล
ท่วมถึงในอดีต
สภาพพื้นที่ ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-1 %
การระบายน้ำ เลว
การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ช้า
การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทำนาหว่าน หรือยกร่องปลูกผักและไม้ผล
การแพร่กระจาย พบอยู่ทั่วไปในที่ราบภาคกลางตอนใต้ ในเขตจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร
การจัดเรียงชั้นดิน Apg-Bg-Bjg-BCg-Cg
ลักษณะและสมบัติของดิน เป็นดินลึก ดินบนเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนหรือ ดินร่วนปนดินเหนียว สีดำหรือสีเทาเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0) ดินบนตอนล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนหรือดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาล มีจุดประสีน้ำตาลแก่และสีแดงปนเหลืองตลอด ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงกรดจัด (pH 4.0-5.0) ดินล่างตอนล่างเป็นดินเหนียว สีเทาปนชมพู มี จุดประสีแดงและสีเหลืองฟางข้าวในดินล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงด่างปานกลาง (pH 6.0-8.0) จะพบชั้นดินเลนสีเทาปนเขียวมะกอกภายในความลึก 150 ซม.
ความลึก (ซม.)
อินทรียวัตถุ
ความจุแลกเปลี่ยน
แคตไอออน
ความอิ่มตัวเบส
ฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์
โพแทสเซียม
ที่เป็นประโยชน์

ความอุดมสมบูรณ์

0-25
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
25-50
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
สูง
ปานกลาง
50-100
ต่ำ
ต่ำ
ปานกลาง
ต่ำ

สูง

ปานกลาง
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน ชุดดินพานทอง ชุดดินรังสิต ชุดดินดินบางเขน และชุดดินฉะเชิงเทรา
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ มีน้ำท่วมขังลึกถึง 50 ซม. นาน 3-4 เดือน ดินเป็นกรดจัดมาก ธาตุอาหารบางชนิด เช่น ฟอสเฟตจะถูกดินตรึงไว้พืชดูดเอาไปใช้ไม่ได้ ผลผลิตพืชที่ได้มักจะต่ำ
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ทำนา ต้องแก้สภาพกรดของดินให้ลดลง โดยการนำปูนมาร์ลมาผสมคลุกเคล้ากับดินก่อนจะใช้ปลูกพืช พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยอินทรีย์พวก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ควบคู่กับปุ๋ยเคมี เพื่อปรับปรุงบำรุงดินให้มีคุณสมบัติดีขึ้นทั้งทางกายภาพและทางเคมีเพื่อให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดีขึ้น




:: สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน  กรมพัฒนาที่ดิน  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ::
๒๐๐๓/๖๑  ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐๒ ๕๖๒ ๕๑๐๐ ต่อ ๑๓๖๗, ๑๓๓๙