ชุดดิน : |
|
|
|
ลักษณะเด่น : |
กลุ่มดินเศษหินเชิงเขาที่เกิดจากการแตกผุพังสลายตัวของหินเชิงเขา
พบเศษหินหรือก้อนหินร่วงลงมาทับถมบริเวณเชิงเขากระจัดกระจายทั่วไป
ลักษณะและสมบัติดินไม่แน่นอน การระบายน้ำดี ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ |
|
|
ปัญหา : |
ดินตื้นที่มีก้อนหินหรือเศษหินกระจัดกระจายทั่วไป ในพื้นที่ลาดชันเกิดการชะล้างพังทลายและขาดแคลนน้ำ |
|
|
แนวทางการจัดการ : |
พื้นที่ที่เป็นดินตื้นมากหรือมีก้อนหินหรือเศษหินกระจัดกระจายทั่วไป
ไม่เหมาะสมต่อการเกษตร ควรปล่อยไว้ให้เป็นป่า |
|
|
|
ปลูกพืชไร่หรือพืชผัก เลือกพื้นที่ที่เป็นดินลึกและไม่พบก้อนหินหรือเศษหินมากบนผิวดิน
ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ หรือสับกลบพืชปุ๋ยสด
(หว่านเมล็ดถั่วพร้า 8-10 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดถั่วพุ่ม 6-8 กิโลกรัม/ไร่
หรือปอเทือง 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์)
ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มีวัสดุคลุมดิน หรือปลูกพืชหมุนเวียน
พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก |
|
|
|
ปลูกไม้ผล เลือกพื้นที่ที่เป็นดินลึกและไม่พบก้อนหินหรือเศษหินมากบนผิวดิน
ขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
20-35 กิโลกรัม/หลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ปลูกพืชคลุมดิน
มีวัสดุคลุมดิน ทำแนวรั้วหรือทำฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น ในช่วงเจริญเติบโต
ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก |
|
|