ชุดดิน : |
ชุดดินกันตัง
(Kat) ชุดดินอ้น
(On) ชุดดินเพ็ญ
(Pn) ชุดดินพะยอมงาม
(Pym) ชุดดินสะท้อน
(Stn) ชุดดินทุ่งค่าย
(Tuk) และชุดดินย่านตาขาว
(Yk) |
|
|
ลักษณะเด่น : |
กลุ่มดินตื้น ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นด่างเล็กน้อย การระบายน้ำเลวถึงค่อนข้างเลว
ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ |
|
|
ปัญหา : |
ดินตื้นถึงก้อนกรวดหรือลูกรังภายในความลึก 50 ซม.จากผิวดิน ขาดแคลนน้ำนาน
ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ บางพื้นที่มีก้อนหินหรือลูกรังที่หน้าดินมาก
และน้ำท่วมขังในฤดูฝน ทำความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบน้ำ |
|
|
แนวทางการจัดการ : |
ปลูกข้าว เลือกพื้นที่เพาะปลูกที่มีหน้าดินหนา
ไถกลบตอซัง ปล่อยทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านโสนอัฟริกันหรือโสนอินเดีย
6-8 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วัน ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์)
ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำหรือปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 หรือ 15-15-15
ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าหลังปักดำ 35-40 วัน พัฒนาแหล่งน้ำไว้ใช้ในช่วงที่ข้าวขาดน้ำหรือใช้ทำนาครั้งที่
2 หรือปลูกพืชไร่ พืชผักหรือพืชตระกูลถั่ว หลังเก็บเกี่ยวข้าว
โดยทำร่องแบบเตี้ย ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 3-4 ตัน/ไร่
ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ |
|
|
|
ปลูกพืชไร่ พืชผัก หรือไม้ผล เลือกพื้นที่มีหน้าดินหนา
ยกร่องกว้าง 6-8 เมตร คูน้ำกว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0 เมตร
และมีคันดินอัดแน่นล้อมรอบ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
3-4 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หรือขุดหลุมปลูกขนาด
75x75x75 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยหน้าดินที่ไม่มีเศษหินหรือลูกรังร่วมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
25-50 กิโลกรัม/หลุม ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังการเก็บผลผลิต
ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตามชนิดพืชที่ปลูก
พัฒนาแหล่งน้ำและระบบการให้น้ำในแปลงปลูก |
|
ในพื้นที่ดินตื้นมาก มีก้อนหิน
หรือลูกรังมากที่ผิวดิน ไม่เหมาะสมสำหรับทำการเกษตร ควรปล่อยไว้ให้เป็นป่าหรือใช้ปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว |
|
|