กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน
ดินเค็ม คือ ดินที่มีเกลือที่ละลายได้ในสารละลายดินปริมาณมาก จนมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของพืช มีค่าการนำไฟฟ้าของสารสกัดจากดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำมากกว่า 2 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร (ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส) ดินเค็มในประเทศไทย แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
1. ดินเค็มบก คือดินเค็มที่เกิดขึ้นในแผ่นดิน พบในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
2. ดินเค็มชายทะเล พบในพื้นที่ชายฝั่งทะเล ทั้งในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ของประเทศไทย

วิธีสังเกตว่าเป็นดินเค็มหรือไม่ โดยให้ดูที่บริเวณผิวดิน ในฤดูแล้ง ถ้าพบคราบเกลือขึ้น หรือในพื้นที่ พบพืชจำพวก หนามพุงดอ ขี้กลาก หนามแดง หรือ พืชจำพวก โกงกาง ลำพู แสม ชะคราม นอกจากนี้ หากมีข้อสงสัยว่าเป็นดินเค็มหรือไม่ ให้นำดินไปวิเคราะห์ค่าความเค็ม ในห้องปฏิบัติการ ก็จะให้ผลที่แม่นยำที่สุด

การแพร่กระจายของคราบเกลือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รายจังหวัด
จังหวัดกาฬสินธุ์
จังหวัดขอนแก่น
จังหวัดชัยภูมิ
จังหวัดนครพนม
จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดบึงกาฬ
จังหวัดบุรีรัมย์
จังหวัดมหาสารคาม
จังหวัดมุกดาหาร
จังหวัดยโสธร
จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดเลย
จังหวัดศรีสะเกษ
จังหวัดสกลนคร
จังหวัดสุรินทร์
จังหวัดหนองคาย
จังหวัดหนองบัวลำภู
จังหวัดอำนาจเจริญ
จังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดอุุดรธานี