ภูมิทัศน์ (Landscape)
ลักษณะทางกายภาพของภูมิประเทศโดยทั่วไปของบริเวณใดบริเวณหนึ่งรวมทั้งที่เกิดตามธรรมชาติหรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ (พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์, 2562)
Landform
ธรณีสัณฐาน (ภูมิสัณฐาน) และชุดดิน
การเข้าใจและทราบถึงสภาพธรณีสัณฐาน (ภูมิสัณฐาน) ภูมิทัศน์ (landscape) และประเภทสภาพพื้นที่ (relief type) จะทำให้คาดคะเนถึงชุดดินในบริเวณพื้นที่นั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความมั่นใจสูง นอกจากนี้ยังสามารถประเมินถึงลักษณะและสมบัติของดินนั้นๆ ได้ เนื่องจากธรณีสัณฐาน (ภูมิสัณฐาน) และชุดดินมีความสัมพันธ์กันอย่างมากและเป็นไปในทิศทางที่เอื้อประโยชน์แก่การทำงานด้านการสำรวจดิน ดังนั้นนักสำรวจดินต้องให้ความสำคัญต่อการกำหนดขอบเขตและให้คำอธิบายถึงภูมิทัศน์ หรือสภาพพื้นที่นั้นๆ ต้องพิจารณาพื้นที่อย่างเป็นระบบ มองจากภาพกว้างหาภาพแคบ จากใหญ่หาเล็ก
ในการกำหนดลักษณะและสมบัติของชุดดินต่างๆ จะพิจารณาจากภูมิทัศน์และสภาพพื้นที่ก่อน ซึ่งได้แก่ ที่ราบ ที่ดอน เนินเขา ภูเขา ซึ่งเป็นสิ่งที่ง่ายและสะดวกในการพิจารณา แล้วถึงจะไปหารายละเอียดในเรื่องของภูมิสัณฐาน ว่าเป็นพื้นที่ ชนิดและลักษณะใด เช่น ที่ราบน้ำท่วมถึง หรือตะกอนน้ำพารูปพัด เป็นต้น สุดท้ายถึงจะไปพิจารณาถึงชนิดและลักษณะของวัตถุต้นกำเนิดดินสามารถรวบรวมและประมวลถึงภูมิสัณฐานและชุดดินต่างๆ ได้ ดังต่อไปนี้
ที่ราบชายฝั่ง (Coastal plain)
ที่ราบตะกอนน้ำพา (Alluvial plain)
คาสต์ (Karst)
ที่ราบธารลาวา (Lava plain)
พื้นเกือบราบ (Peneplain)
พื้นที่ลาดเชิงเขา/เนินเขา/ภูเขา (Piedmont/Hill/Mountain)
ภูเขา และดินที่สูง (Mountain and highland soil)
ที่ราบชายฝั่ง (Coastal plain)
ที่ราบตะกอนน้ำพา (Alluvial plain)
คาสต์ (Karst)
ที่ราบธารลาวา (Lava plain)
พื้นเกือบราบ (Peneplain)
พื้นที่ลาดเชิงเขา/เนินเขา/ภูเขา (Piedmont/Hill/Mountain)
ภูเขา และดินที่สูง (Mountain and highland soil)
ที่ราบชายฝั่ง (Coastal plain)
พื้นที่ราบซึ่งอยู่ติดชายฝั่งทะเล เกิดจากการทับถมของตะกอนธารน้ำและตะกอนทะเล (พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์, 2562)
หาดทราย/เนินทราย (Beach/Sand dune)
พื้นที่ซึ่งมีความลาดเล็กน้อย อยู่ติดกับทะเล ทะเลสาบ หรือแม่น้ำซึ่งอยู่ระหว่างแนวน้ำขึ้นน้ำลง เกิดจากการกระทำของคลื่นหรือกระแสน้ำ ประกอบด้วยตะกอนร่วน เช่น ทราย กรวด เป็นส่วนใหญ่ ไม่มีพืชพรรณขึ้น (พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์, 2562)
ที่มา : http://nationalatlas.ngii.go.kr/pages/page_2287.php#prettyPhoto[img1]/7/
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบหาดทราย (Beach)/เนินทราย (Sand dune)
ที่ลุ่มระหว่างสันทราย (Swale)
ร่องยาว แคบ และตื้นที่อยู่ระหว่างชายหาดสองแนว และขนานไปกับชายฝั่ง (อภิธานศัพท์ธรณีวิทยา เล่มที่ 2, 2564) เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำหลังแนวสันทราย ซึ่งเคยเป็นชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ที่ยาวขนานไปกับสันทราย เป็นดินลึกมาก เนื้อดินเป็นทรายถึงทรายปนดินร่วน สีน้ำตาลปนเทาและเทา พบจุดประสีเหลืองปนแดงและน้ำตาลปนเหลือง การระบายน้ำเลวถึงเลวมาก มักอิ่มตัวด้วยน้ำตลอดเวลา อาจมีเศษเปลือกหอยปะปนในเนื้อดิน
ที่มา : http://nationalatlas.ngii.go.kr/pages/page_2287.php#prettyPhoto[img1]/7/
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบหาดทราย (Beach)/เนินทราย (Sand dune)
พื้นที่พรุ (Swamp deposit)
  
                   
พื้นที่บริเวณนี้เป็นแอ่งต่ำหรือที่ลุ่มที่มีน้ำขังระหว่างสันทรายชายฝั่งทะเล พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าบึงหรือป่าพรุ มีการสะสมเศษชิ้นส่วนของพืชในปริมาณมากและเป็นชั้นหนาในสภาพที่มีน้ำขังตลอดปี ดินชั้นล่างส่วนใหญ่เป็นตะกอนน้ำทะเลที่มีศักยภาพก่อให้เกิดเป็นดินกรดกำมะถันหรือดินเปรี้ยวจัด (วุฒิชาติ, 2550)
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบพื้นที่พรุ (Swamp deposit)
ที่มา : https://www.grida.no/resources/12531
ที่ราบน้ำทะเล (Tidal flat)
1. ที่ราบน้ำทะเลขึ้นถึงในปัจจุบัน (Active tidal flat)
พื้นที่บริเวณนี้มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นประจำทุกวัน พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าโกงกางหรือป่าชายเลน บางพื้นที่ใช้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีเนื้อดินเป็นดินเลนและสีคล้ำ มีอินทรียวัตถุสะสมสูงและเค็ม พื้นที่ส่วนใหญ่มีศักยภาพที่ก่อให้เกิดเป็นดินกรดกำมะถันหรือดินเปรี้ยว และมีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นประจำวัน ทำให้ไม่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตร (วุฒิชาติ, 2550)
ที่มา : https://eschooltoday.com/learn/delta/
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบที่ราบน้ำทะเลขึ้นถึงในปัจจุบัน (Active tidal flat)
 2. ที่ราบน้ำทะเลเคยท่วมถึง (Former tidal flat)
พื้นที่บริเวณนี้มีน้ำทะเลเคยท่วมถึงในอดดีต ปัจจุบันน้ำทะเลไม่ท่วมถึงแล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ทำนาหรือยกร่องปลูกปาล์มน้ำมัน ไม้ผลและพืชผัก ดินตะกอนที่ทับถมมาจากตะกอนน้ำทะเลหรือตะกอนน้ำกร่อย บางพื้นที่มีสมบัติดินเป็นดินกรดกำมะถันหรือดินเปรี้ยวจัด (วุฒิชาติ, 2550)
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบที่ราบน้ำทะเลเคยท่วมถึง (Former tidal flat)
ที่ราบตะกอนน้ำพา (Alluvial plain)
ที่ราบหรือค่อนข้างราบขนาดใหญ่สองฝั่งแม่น้ำ ในฤดูน้ำหลากน้ำจะไหลล้นสองฝั่งแม่น้ำท่วมบริเวณดังกล่าวและนำตะกอนมาสะสม ถ้าเป็นที่ราบขนาดเล็ก เรียกว่าที่ลุ่มราบตะกอนน้ำพา (alluvial flat) (พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์, 2562)
ที่ราบน้ำท่วมถึง (Flood plain)
ที่ราบริมแม่น้ำหรือลำธารซึ่งหน้าฝนหรือหน้าน้ำมักมีน้ำท่วมเป็นครั้งคราว โดยปกติเป็นสภาพพื้นที่ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพา (พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์, 2562)
ที่มา : https://eschooltoday.com/learn/plain/
1. สันดินริมน้ำ (Levee)
1.1 สันดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ มักเป็นตะกอนที่มีขนาดค่อนข้างหยาบถึงหยาบทำให้เกิดเป็นสันนูนขนานไปกับริมฝั่งแม่น้ำ
1.2 คันดินขนาดเล็กที่สร้างยาวไปตามแนวตลิ่งของแม่น้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำจากแม่น้ำไหลบ่าท่วมพื้นที่ข้างเคียง (พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์, 2562)
ที่มา : https://geologyconcepts.com/pic-of-the-day-183-natural-leeves-fluvial-system/
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบสันดินริมน้ำ (Levee)
2. ส่วนต่ำของสันดินริมน้ำ (Lower part of levee)
พื้นที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ ดินลึกมาก เนื้อดินร่วนหยาบถึงดินทรายแป้งละเอียด มีสีเทาและน้ำตาลปนเทา การระบายน้ำค่อนข้างเลว
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบส่วนต่ำของสันดินริมน้ำ (Lower part of levee)
ภาคกลาง
3. ที่ลุ่มหลังสันดิน (Backswamp)
ที่ราบน้ำท่วมถึง อยู่ระหว่างคันดินริมน้ำกับตะพักลำน้ำหรือด้านข้างหุบเขา ประกอบด้วยพื้นที่ลุ่มชื้นแฉะน้ำขัง และแอ่งที่กว้างใหญ่ (พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์, 2562)
ที่มา : https://wafiy711.wordpress.com/wp-content/uploads/2012/04/floodplain.jpg
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบที่ลุ่มหลังสันดิน (Backswamp)
4. ที่ราบสองฝั่งลำธาร (Valley flats of streams)
ที่ราบระหว่างเนิน อยู่ระหว่างร่องธารน้ำ ธรรมชาติที่มีน้ำไหลตลอดปี หรือไหลบางช่วงเวลา มีรูปร่างเป็นร่องแคบยาวเกิดจากความรุนแรงของการไหลของน้ำและมีน้ำไหลตลอดหรือตามฤดูกาล (stream channel) (พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์, 2562)
ที่มา : https://eschooltoday.com/learn/valley/
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบที่ราบสองฝั่งลำธาร (Valley flats of streams)
ตะพักลำน้ำ (Alluvial terrace)
ตะพักธารน้ำที่ประกอบด้วยตะกอน้ำพาซึ่งยังไม่แข็งตัว เกิดจากการกัดเซาะลงด้านล่างบนที่ราบน้ำท่วม หรือพื้นหุบเขาที่ถูกกัดเซาะลงด้านล่างโดยธารน้ำเกิดใหม่หรือเกิดจากการทับถมภายหลังของตะกอนน้ำพาบนตะพักเดิม (พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์, 2562)
ที่มา : http://nationalatlas.ngii.go.kr/pages/page_2287.php#prettyPhoto[img1]/7/
1. ตะพักตะกอนน้ำพา/สันดินริมน้ำเก่า (Terrace/Old levee)
พื้นที่บริเวณนี้พบอยู่บนสันดินริมน้ำที่มีการพัฒนาชั้นดินมานาน มีเนื้อดินเป็นดินร่วน ดินทรายแป้งหรือดินเหนียวลึกมาก ในสภาพปัจจุบันน้ำไม่ท่วมแล้ว (วุฒิชาติ, 2550)
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบตะพักตะกอนน้ำพา/สันดินริมน้ำเก่า (Terrace/Old levee)
2. ตะพักตะกอนน้ำพาค่อนข้างใหม่ถึงตะพักตะกอนน้ำพาระดับต่ำ (semi-recent alluvial terrace/Low alluvial terrace)
ตะพักลำน้ำที่อยู่ระหว่างตะพักลำน้ำระดับต่ำกับที่ราบน้ำท่วมถึง ตะกอนที่ทับถมเป็นตะกอนน้ำพาค่อนข้างใหม่ (พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์, 2562) และ/หรือ ตะพักที่อยู่ถัดขึ้นไปจากที่ราบน้ำท่วมถึง มักมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบน้ำท่วมถึง มักมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบถึงเกือบราบ อาจมีน้ำท่วมขังได้ในระยะเวลาสั้น ๆ ในช่วงฤดูฝน
ที่มา : http://nationalatlas.ngii.go.kr/pages/page_2287.php#prettyPhoto[img1]/7/
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบตะพักตะกอนน้ำพาค่อนข้างใหม่ถึงตะพักตะกอนน้ำพาระดับต่ำ (semi-recent alluvial terrace/Low alluvial terrace)
ชุดดินเฉลียงลับ(Cl) ชุดดินเชียงราย(Cr) ชุดดินหางดง(Hd) ชุดดินคลองขลุง(Khk) ชุดดินโกรกพระ(Kr) ชุดดินหล่มสัก(La) ชุดดินลับแล(Le) ชุดดินหล่มเก่า(Lk) ชุดดินลำปาง(Lp) ชุดดินแม่สาย(Ms) ชุดดินแม่ทะ(Mta) ชุดดินน่าน(Na) ชุดดินพาน(Ph) ชุดดินพิจิตร(Pic) ชุดดินโพทะเล(Plo) ชุดดินสันทราย(Sai) ชุดดินสุโขทัย(Skt) ชุดดินศรีเทพ(Sri) ชุดดินศรีสำโรง(Ssr) ชุดดินทัพทัน(Tht) ชุดดินท่าพล(Tn) ชุดดินอุตรดิตถ์(Utt) ชุดดินวัฒนา(Wa) ชุดดินวิเชียรบุรี(Wb) ชุดดินเวียงชัย(Wch) ชุดดินวังทอง(Wto) ชุดดินบ้านหมี่(Bm) ชุดดินช่องแค(Ck) ชุดดินเดิมบาง(Db) ชุดดินหินกอง(Hk) ชุดดินโคกกะเทียม(Kk) ชุดดินโคกสำโรง(Ksr) ชุดดินเขาย้อย(Kyo) ชุดดินมโนรมย์(Mn) ชุดดินหนองฉาง(Nch) ชุดดินหนองแก(Nk) ชุดดินปากท่อ(Pth) ชุดดินสระโบสถ์(Sab) ชุดดินท่าตะโก(To) ชุดดินอรัญประเทศ(Ar) ชุดดินบ้านบึง(Bbg) ชุดดินบ้านค่าย(Bi) ชุดดินชลบุรี(Cb) ชุดดินเกาะขนุน(Kkn) ชุดดินแกลง(Kl) ชุดดินตาพระยา(Tpy) ชุดดินชุมแพ(Cpa) ชุดดินชัยภูมิ(Cy) ชุดดินกุลาร้องไห้(Ki) ชุดดินนาแขม(Nak) ชุดดินนาอ้อ(Nao) ชุดดินหนองบุญนาก(Nbn) ชุดดินหนองกุง(Nkg) ชุดดินนครพนม(Nn) ชุดดินประทาย(Pt) ชุดดินธวัชบุรี(Th) ชุดดินท่าตูม(Tt) ชุดดินอุดร(Ud) ชุดดินคลองขุด(Kut) ชุดดินโคกเคียน(Ko) ชุดดินท่าศาลา(Tsl) ชุดดินทุ่งค่าย(Tuk) ชุดดินบางนารา(Ba) ชุดดินพัทลุง(Ptl) ชุดดินละงู(Lgu) ชุดดินสงขลา(Sng) ชุดดินสตูล(Stu) ชุดดินสุไหงโกลก(Gk) ชุดดินน้ำกระจาย(Ni) ชุดดินวิสัย(Vi) ชุดดินสะท้อน(Stn) ชุดดินสายบุรี(Bu)
3. ตะพักตะกอนน้ำพาระดับกลางถึงสูง (Middle  to high alluvial terrace)
ตะพักที่อยู่ตอนกลางระหว่างตะพักตะกอนน้ำระดับต่ำและตะพักที่อยู่เหนือขึ้นไปจากตะพักตะกอนน้ำพาระดับกลาง ส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงลอนชัน (พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์, 2562)
ที่มา : http://nationalatlas.ngii.go.kr/pages/page_2287.php#prettyPhoto[img1]/7/
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบตะพักตะกอนน้ำพาระดับกลางถึงสูง (Middle  to high alluvial terrace)
ชุดดินบ่อไทย(Bo) ชุดดินชนแดน(Cdn) ชุดดินดงยางเอน(Don) ชุดดินห้างฉัตร(Hc) ชุดดินขาณุ(Khu) ชุดดินโกสัมพี(Ksp) ชุดดินลำสนธิ(Ls) ชุดดินแม่ริม(Mr) ชุดดินแม่แตง(Mt) ชุดดินน้ำเลน(Nal) ชุดดินน้ำชุน(Ncu) ชุดดินแพร่(Pae) ชุดดินพะเยา(Pao) ชุดดินพิชัย(Pch) ชุดดินเพชรบูรณ์(Pe) ชุดดินพรานกระต่าย(Prk) ชุดดินสันป่าตอง(Sp) ชุดดินอุทัย(Uti) ชุดดินวังชมภู(Wc) ชุดดินบ่อพลอย(Bop) ชุดดินจอมบึง(Cbg) ชุดดินเขาพลอง(Kpg) ชุดดินเลาขวัญ(Lao) ชุดดินม่วงค่อม(Mm) ชุดดินแม่ประจันต์(Mpc) ชุดดินปราณบุรี(Pr) ชุดดินบางคล้า(Bka) ชุดดินดอนไร่(Dr) ชุดดินดงตะเคียน(Dt) ชุดดินกบินทร์บุรี(Kb) ชุดดินมะขาม(Mak) ชุดดินผักกาด(Pat) ชุดดินปางไร่(Pg) ชุดดินสระแก้ว(Ska) ชุดดินตราด(Td) ชุดดินจักราช(Ckr) ชุดดินชุมพวง(Cpg) ชุดดินสตึก(Suk) ชุดดินชุมพร(Cp) ชุดดินหาดใหญ่(Hy) ชุดดินกันตัง(Kat) ชุดดินคอหงษ์(Kh) ชุดดินคลองท่อม(Km) ชุดดินลำภูรา(Ll) ชุดดินนาทวี(Nat) ชุดดินหนองคล้า(Nok) ชุดดินนาท่าม(Ntm) ชุดดินสุไหงปาดี(Pi) ชุดดินปากคม(Pkm) ชุดดินปะทิว(Ptu) ชุดดินพะยอมงาม(Pym) ชุดดินสะเดา(Sd) ชุดดินสวี(Sw) ชุดดินท่าแซะ(Te) ชุดดินตรัง(Tng) ชุดดินวังตง(Wat) ชุดดินยะลา(Ya) ชุดดินย่านตาขาว(Yk)
4. ตะพักปูนมาร์ล (Marl terrain)
ตะพักลำน้ำที่ทับถมด้วยตะกอนจากมาร์ล หรือบริเวณใกล้เคียงกับเนินเขาจากหินปูน (สุนันท์ และคณะ, 2537)
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบตะพักปูนมาร์ล (Marl terrain)
เนินตะกอนน้ำพารูปพัด (Alluvial fan)
   
                  
เนินที่เกิดจากการทับถมหรือสะสมตัวของตะกอนในบริเวณที่มีการเปลี่ยนระดับของทางน้ำจากหุบเขาชันและแคบลงสู่ที่ราบ ทำให้ความเร็วของกระแสน้ำลดลง ตะกอนจึงสะสมในลักษณะกระจายออกไปรอบข้างเป็นรูปพัดหรือรูปกรวย (พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์, 2562)
ที่มา : http://nationalatlas.ngii.go.kr/pages/page_2287.php#prettyPhoto[img1]/29/
1. ส่วนต่ำของเนินตะกอนน้ำพารูปพัด (Lower alluvial fan)
ส่วนต่ำของเนินที่เกิดจากการทับถมหรือสะสมตัวของตะกอนในบริเวณที่มีการเปลี่ยนระดับของทางน้ำจากหุบเขาชันและคบลงสู่ที่ราบ ทำให้ความเร็วของกระแสน้ำลดลง ตะกอนจึงสะสมในลักษณะกระจายออกไปรอบข้างเป็นรูปพัดหรือรูปกรวย (พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์, 2562)
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบส่วนต่ำของเนินตะกอนน้ำพารูปพัด (Lower alluvial fan)
2. ส่วนสูงของเนินตะกอนน้ำพารูปพัด (Upper alluvial fan)
ส่วนบนของเนินที่เกิดจากการทับถมหรือสะสมตัวของตะกอนในบริเวณที่มีการเปลี่ยนระดับของทางน้ำจากหุบเขาชันและแคบลงสู่ที่ราบ ทำให้ความเร็วของกระแสน้ำลดลง ตะกอนจึงสะสมในลักษณะกระจายออกไปรอบข้างเป็นรูปพัดหรือรูปกรวย
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบส่วนสูงของเนินตะกอนน้ำพารูปพัด (Upper alluvial fan)
คาสต์ (Karst)
ภูมิประเทศแบบคาสต์ (karst topography)
   
                          
ภูมิประเทศแบบหนึ่งที่พบ ในบริเวณที่มีหินปูน ยิปซัม หรือ หินชนิดอื่นที่ละลายน้ำหรือถูกชะละลายได้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยดินเหนียวสีแดง ป่าช้าหิน (lapies) แอ่งยุบ (doline) หลุมยุบ ธารน้ำใต้ดิน (subterranean stream) และถ้ำ (พจนานุกรมศัพท์ปฐพีศาสตร์, 2562)
ที่มา : https://www.facebook.com/mitrearth/photos/d41d8cd9/827709824462520/
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบภูมิประเทศแบบคาสต์ (karst topography)
ที่ราบธารลาวา (Lava plain)
ที่ราบที่อยู่ระหว่างเนินลาวาตกค้างกับลาดเขาตอนล่าง ที่ราบธารลาวาถูกกระบวนการผุพังอยู่กับที่ กระบวนการกัดกร่อนจากน้ำ (สากล, 2538)
ธารลาวาหินบะซอลต์ (Basaltic lava flow)
ที่มา : https://eschooltoday.com/learn/igneous-rocks/
1. ส่วนต่ำของพื้นที่เกิดจากธารลาวาหินบะซอลต์ (lower part of  basaltic lava flow)
สัณฐานภูมิประเทศที่เกิดจากการทับถมของธารลาวาที่ไหลขึ้นมาผสมกับเถ้าภูเขาไฟ ทำให้เกิดเป็นหินบะซอลต์ซึ่งในบางบริเวณมีแนวสลับทับถมของตะกอนจากลำน้ำ (เอิบ, 2533)
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบส่วนต่ำของพื้นที่เกิดจากธารลาวาหินบะซอลต์ (lower part of  basaltic lava flow)
2. พื้นที่ที่เกิดจากธารลาวาหินบะซอลต์ที่ไม่ต่อเนื่องกัน (dissected basaltic lava flow)
สัณฐานภูมิประเทศที่เกิดจากการทับถมของธารลาวาที่ไหลขึ้นมาผสมกับเถ้าภูเขาไฟ ทำให้เกิดเป็นหินบะซอลต์ ซึ่งในบางบริเวณมีแนวสลับทับถมของตะกอนจากลำน้ำ ถูกอิทธิพลน้ำกัดเซาะเป็นร่องและหุบเขา
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบพื้นที่ที่เกิดจากธารลาวาหินบะซอลต์ที่ไม่ต่อเนื่องกัน (dissected basaltic lava flow)
ธารลาวาหินภูเขาไฟ (Volcanic lava flow)
1. ส่วนต่ำของพื้นที่เกิดจากธารลาวาภูเขาไฟ (lower part of  volcanic lava flow)
สัณฐานภูมิประเทศที่เกิดจากการทับถมของธารลาวาที่ไหลขึ้นมาผสมกับเถ้าภูเขาไฟ ซึ่งในบางบริเวณมีแนวสลับทับถมของตะกอนจากลำน้ำ (เอิบ, 2533)
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบส่วนต่ำของพื้นที่เกิดจากธารลาวาภูเขาไฟ (lower part of  volcanic lava flow)
ภาคเหนือ
2. พื้นที่ที่เกิดจากธารลาวาหินภูเขาไฟที่ไม่ต่อเนื่องกัน  (dissected volcanic lava flow)
สัณฐานภูมิประเทศที่เกิดจากการทับถมของธารลาวาที่ไหลขึ้นมาผสมกับเถ้าภูเขาไฟ ซึ่งในบางบริเวณมีแนวสลับทับถมของตะกอนจากลำน้ำ (เอิบ, 2533)
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบพื้นที่ที่เกิดจากธารลาวาหินภูเขาไฟที่ไม่ต่อเนื่องกัน  (dissected volcanic lava flow)
พื้นเกือบราบ (Peneplain)
ภูมิประเทศที่เกิดจากการผุพังด้วยกระบวนการกร่อนทำลายโดยน้ำ ทำให้พื้นที่สูงเดิมซึ่งขรุขระและสูงต่ำแตกต่างกันมากมีระดับต่ำลงจนมีลักษณะคล้ายลูกคลื่นลอนลาดหรือพื้นที่เกือบราบ
  
ที่มา : https://eschooltoday.com/learn/plateau/
ส่วนต่ำของพื้นเกือบราบ (lower part of peneplain)
บริเวณส่วนต่ำของพื้นเกือบราบที่มีความสูงต่ำของพื้นที่เป็นแบบราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย วัตถุต้นกำเนิดดินเกิดจากการสลายตัวอยู่กับที่หรือถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัสดุเนื้อหยาบที่มาจากหินตะกอน ดินมีการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบส่วนต่ำของพื้นเกือบราบ (lower part of peneplain)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พัฒนามาจากหินทราย (Derived from sandstone)
พัฒนามาจากหินทรายแป้ง (Derived from Siltstone)
พัฒนามาจากหินทรายทับบนหินตะกอนเนื้อละเอียด (Derived sandstone over fine grain clastic rocks)
ส่วนสูงของพื้นเกือบราบ (higher part of peneplain)
บริเวณส่วนสูงของพื้นเกือบราบที่มีความสูงต่ำของพื้นที่เป็นแบบราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย วัตถุต้นกำเนิดดินเกิดจากการสลายตัวอยู่กับที่หรือถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัสดุเนื้อหยาบที่มาจากหินตะกอน ดินมีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบส่วนสูงของพื้นเกือบราบ (higher part of peneplain)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พัฒนามาจากหินทราย (Derived from sandstone)
พัฒนามาจากหินทรายแป้งเนื้อปูน (Derived from cacareous siltstone)
พัฒนามาจากหินทรายทับบนหินตะกอนเนื้อละเอียด (Derived from sandstone over fine grain clastic rocks)
พื้นที่ลาดเชิงเขา/เนินเขา/ภูเขา (Piedmont/Hill/Mountain)
ที่มา : https://www.chegg.com/homework-help/questions-and-answers/hi-wondering-answer-questions-q115439992
ที่ดอนราบถึงที่ดอนลูกคลื่นลอนลาด (Level uplands to undulating uplands)
ภูมิประเทศที่เป็นเนินเขาและภูเขาเกิดจากหินแข็งที่เป็นทั้งหินตะกอนและหินแปร สภาพภูมิประเทศมีลักษณะราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด (มีความลาดชันระหว่างร้อยละ 0-12) ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของแม่น้ำ (เอิบ, 2548)
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบที่ดอนราบถึงที่ดอนลูกคลื่นลอนลาด (Level uplands to undulating uplands)
วัสดุตกค้างจากหินทราย หินควอร์ตไซต์  หินฟิลไลท์ ที่รองรับด้วยหินดินดาน (Residuum from sandstone quartzite phylite underlying shale)
วัสดุตกค้างจากหินทราย (Residuum from sandstone or equivalent rock)
วัสดุตกค้างจากหินดินดานหรือหินตะกอนเนื้อละเอียดในกลุ่มเดียวกัน (Residuum and collvium from shale or equivalent rocks)
วัสดุตกค้างจากหินดินดาน หินเกรย์แวค หรือหินตะกอนร่วมกับหินปูน (Residuum and colluvium from sedimentary rocks associated with limestone)
วัสดุตกค้างจากหินทรายแป้งเนื้อปูน (Residuum from calcareous siltstone)
วัสดุตกค้างจากหินทรายแป้ง (Residuum from siltstone)
วัสดุตกค้างจากหินแอนดีไซต์ ทัฟฟ์ หินกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟ (Residuum or colluvium from andesite tuff and agglomerate)
วัสดุตกค้างจากหินไรโอไลต์ (Residuum or colluvium from rhyolite)
วัสดุตกค้างจากหินแกรนิต (Residuum or colluvium from granite)
ที่ดอนลูกคลื่นลอนชันถึงที่ดอนเนินเขา (Rolling uplands to hilly uplands)
  ภูมิประเทศที่เป็นเนินเขาและภูเขาเกิดจากหินแข็งที่เป็นทั้งหินตะกอนและหินแปร สภาพภูมิประเทศมีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนชันถึงเนินเขา (มีความลาดชันระหว่างร้อยละ 12-35) ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของแม่น้ำ (เอิบ, 2548)
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบที่ดอนลูกคลื่นลอนชันถึงที่ดอนเนินเขา (Rolling uplands to hilly uplands)
วัสดุตกค้างจากหินทราย (Residuum and colluvium from sandstone)
วัสดุตกค้างจากหินทราย และ/หรือ หินควอร์ตไซต์ (Residuum from quartzite and/or sandstone)
วัสดุตกค้างจากหินดินดานหรือหินตะกอนเนื้อละเอียดในกลุ่มเดียวกัน (Residuum and collvium from shale or equivalent rocks)
วัสดุตกค้างจากหินกรวดเหลี่ยม (breccia)
วัสดุตกค้างจากหินทรายแป้ง (Residuum from siltstone)
วัสดุตกค้างจากแอนดีไซต์ ทัฟฟ์ หินกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟ (Residuum or colluvium from andesite tuff and agglomerate)
วัสดุตกค้างจากหินแกรนิต (Residuum or colluvium from granite)
วัสดุตกค้างจากหินแกรนิต หินไนส์ (Residuum from granite and gneiss)
ภูเขา และดินที่สูง (Mountain and highland soil)
ที่มา : https://geopard.tech/blog/topography-and-nutrition-content-in-soil-and-yield/
เนินเขาถึงเนินเขาสูงชัน (Hills to steep hills)
สภาพภูมิประเทศทั่วไป ที่มองเห็นเป็นภูเขาสูง มีความสูงกว่าพื้นที่ที่ล้อมรอบและแสดงลักษณะเป็นยอด (แตกต่างจากที่ราบสูง) และโดยทั่วไปมักมีความลาดชันด้านข้างสูง (มากกว่าร้อยละ 35) และมักเป็นหิน อาจมีลักษณะเป็นกลุ่มที่มีแนวยาว หรือมียอดที่สูงโดดเด่นเพียงยอดเดียว อาจเกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก หรือจากการกัดเซาะ หรือจากกระบวนการภูเขาไฟ โดยทั่วไปมักกําหนดให้มีความสูงกว่าพื้นที่ข้างเคียงอย่างน้อย 300 เมตร (แต่เดิมกําหนดความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 600 เมตร หรือมากกว่า)
ชุดดินที่พบบริเวณภูมิลักษณ์แบบเนินเขาถึงเนินเขาสูงชั้น (Hills to steep hills)
วัสดุตกค้างจากหินแกรนิต หินไนส์ (Residuum from granite and gneiss)