๒๘ เมษายน ๒๕๕๗
โครงการสำรวจติดตามการแพร่กระจายของคราบเกลือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ
 

ปัญหาดินเค็มเป็นปัญหาสำคัญต่อการทำการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกที่มีแนวโน้มทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนขึ้นหรือการกระจายตัวของฝนน้อยลง ส่งผลโดยตรงต่อปัญหาดินเค็ม การสำรวจและทำแผนที่พร้อมทั้งการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับความเค็มของดิน ปฏิกิริยาดิน สภาพการใช้ที่ดินในช่วงเวลานั้น ณ จุดต่างๆ ที่บอกพิกัดทางภูมิศาสตร์ไว้อย่างชัดเจนจะช่วยให้การติดตามการแพร่กระจายของคราบเกลือ มีข้อมูลที่สมบูรณืสำหรับกำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินมีแผนจะเข้ามาตรวจวัดเพื่อติดตามผลกระทบในที่เดิมอีกครั้งใน 5 ปีต่อไป
ในปีงบประมารปี 2553 ส่วนมาตรฐานการสำรวจจำแนกดินและที่ดิน ได้ดำเนินการสำรวจติดตามการแพร่กระจายของคราบเกลือใน 2 ลุ่มน้ำ คือลุ่มน้ำลำน้ำชีส่วนที่ 2 ครอบคลุมพื้นที่ 2,492,306 ไร่ อยู่ในจังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา ขอนแก่น และลุ่มน้ำลำสะแทด ครอบคลุมพื้นที่ 1,625,671 ไร่ อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น และบุรีรัมย์
ข้อมูลการแพร่กระจายของคราบเกลือในลุ่มน้ำลำน้ำชีส่วนที่ 2 มีการเจาะสำรวจทั้งหมด 80 แนวตัดขวาง มีจุดเจาะทั้งหมด 415 จุด มีจำนวนตัวอย่างดิน 2,046 ตัวอย่าง เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลปี พ.ศ. 2548 พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของคราบเกลือในทิสทางที่เลวลงประมาณ 4.23 เปอร์เซ็นต์ ในทิศทางที่ดีขึ้น 3.76 เปอร์เซ็นต์ และไม่เปลี่ยนแปลง 77.64 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในลุ่มน้ำลำสะแทด มีการเจาะสำรวจทั้งหมด 70 แนวตัดขวาง มีจุดเจาะทั้งหมด 326 จุดมีตัวอย่างดิน 1,397 ตัวอย่าง เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลปี พ.ศ.2548 พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของคราบเกลือในทิศทางที่เลวลงประมาณ 6.76 เปอร์เซ็นต์ ในทิศทางที่ดีขึ้น 9.94 เปอร์เซ็นต์ และไม่เปลี่ยนแปลง 77.59 เปอร์เซ็นต์


ที่มา รายงานประจำปี 2553 สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน

 
 

สำนักสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน
กรมพัฒนาที่ดิน ๒๐๐๓/๖๑ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

โทร. ๐ ๒๕๗๙ ๑๑๙๒ หรือ ๑๗๖๐ ต่อ ๑๓๓๙